เมนู

ป. บางคนที่คิดว่าจะกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าวเสียอีก
อย่างหนึ่ง คิดว่าจะแสดงอย่างหนึ่ง ก็แสดงเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะ
ร้องเรียกอย่างหนึ่ง ก็ร้องเรียกเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะพูดอย่างหนึ่ง
ก็พูดเสียอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บางคนที่คิดว่าจะกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าว
เสียอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คิดว่าจะพูดอย่างหนึ่ง ก็พูดเสียอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่
ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี
วาจาได้.
นยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ

อรรถกถานยถาจิตตัสส1 วาจาติกถา



ว่าด้วย ผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้ คือหมายความ
ว่า วาจาไม่เป็นไปตามจิต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิดุจลัทธิของ
นิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า บุคคลบางคนคิดว่า เราจักกล่าวอย่างหนึ่ง
แต่ย่อมกล่าวอย่างหนึ่ง เหตุใด เพราะเหตุนั้น วาจา จึงชื่อว่าไม่เป็นไป
ตามจิต ไม่คล้อยไปตามจิต แม้เว้นจิตเสียแล้ว วาจาก็ย่อมเป็นไปได้ดังนี้
คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ เป็นต้น เพื่อท้วง

1. อีกอย่างหนึ่งแปลว่า เรื่องวาจาไม่เป็นไปตามจิต.

ปรวาทีนั้นว่า ถ้าว่า จิตที่เป็นเหตุให้วาจาเกิดขึ้นไม่มีไซร้ ธรรมทั้งหลาย
แม้มีผัสสะเป็นต้นก็ไม่พึงมีขณะนั้น ดังนี้.
ในคำทั้งหลายมีคำว่า บุคคลไม่ปรารถนาจะกล่าว เป็นต้น
อธิบายว่า บุคคลคิดว่าเราจะกล่าวคำอย่างหนึ่งแม้กล่าวอยู่ซึ่งคำอีก
อย่างหนึ่ง เขาย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาจะกล่าวนั่นแหละ เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. ในคำทั้งหลายมี
คำว่า บางคนที่คิดว่าจักกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าวเสียอีกอย่างหนึ่ง ... มี
อยู่มิใช่หรือ
เป็นต้น อธิบายว่า บุคคลใดปรารถนาจะกล่าวคำใดคำหนึ่ง
ในกาลก่อน เขาก็พึงกล่าวคำนั้น คือคำที่คิดไว้แต่เดิมนั้น ในที่นี้ ท่าน
หมายเอาจิตของผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวเป็นอย่างหนึ่ง จิตที่เป็นเหตุให้กล่าว
ก็เป็นอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวาจาไม่เป็นไปตามจิต เพราะไม่
เหมือนกับจิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น ด้วยเหตุนั้นจึงชื่อว่าไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิง
แต่จิตใดอันมีในกาลก่อนจิตนั้นไม่เป็นเหตุให้คำพูดเกิดขึ้นก็หาไม่ ท่าน
ปฏิเสธหมายเอาเนื้อความว่า วาจานั้นไม่เป็นไปตามจิตเพียงเท่านี้. ด้วย
อุทาหรณ์นี้ ลัทธิ แม้อันปรวาทีตั้งไว้แล้วว่า ผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มี
วาจาได้ คือหมายความว่าวาจาไม่เป็นไปตามจิต ดังนี้ ย่อมเป็นลัทธิตั้ง
อยู่ไม่ได้เลย ดังนี้แล.
อรรถกถานยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ

นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา



[2363] สกวาที บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้
หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ฯลฯ ผู้ไม่มีจิต ก็มีกายกรรมได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลมีผัสสะ ฯลฯ มีจิต จึงมีกายกรรมได้ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลมีผัสสะ ฯลฯ มีจิต จึงมีกายกรรมได้
ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้.
[1364] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่นึกอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ ก็มีกายกรรมได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้นึกอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ จึงมีกายกรรมได้ มิใช่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้นึกอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ จึงมีกายกรรมได้
ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้.
[1365] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้ หรือ ?